วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

กุญแจประจำหลัก

ประเภทของกุญแจประจำหลัก

กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียง 3 ชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่างชื่อใช้ระบุโน้ตตำแหน่งที่คาบเกี่ยว
GClef.svg
กุญแจซอล
กุญแจประจำหลัก G
(G-clef)
เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลางส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง
CClef.svg
กุญแจโด
กุญแจประจำหลัก C
(C-clef)
เสียงโดกลาง (middle C)กึ่งกลางกุญแจโด
FClef.svg
กุญแจฟา
กุญแจประจำหลัก F
(F-clef)
เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลางหัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด
การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย(ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ

ประวัติดนตรีตะวันตก


ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก

      เนื่องจากโครงสร้างของดนตรีตะวันตกมีการพัฒนาเปลี่ยนไปเสมอตามแนวความคิดของผู้ประพันธ์เพลงจึงทำให้เกิดเป็นลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคขึ้นมาการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของบทเพลงในแต่ละยุค จะช่วยให้ทีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของดนตรีในแต่ละยุค ดังนี้
1. ยุคกลาง (Middle Ages)
        ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล  (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกันซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว  (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical)ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี
2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period)
        เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes)ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales)การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกันมิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ดลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะและไม่มีอัตราจังหวะลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยยังมีน้อยไม่ค่อยพบลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกันระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเริ่มมีการผสมวงเล็กๆเกิดขึ้นนักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด
3. ยุคบาโรค (Baroque Period) 
        เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.. 1600-1750) การสอดประสาน   เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุคช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์และไมเนอร์แทนการใช้โหมดต่างๆการประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบมีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลงการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นลักษณะของความดัง-ค่อยมากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆดังขึ้นหรือค่อยๆลง  (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso)  บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกันนิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม  ครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล
4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
        เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมากอยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (.. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสานการใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นหลักในการประพันธ์เพลงลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผนบริสุทธิ์มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ    ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกันไม่มีการแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัดการผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้นการบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว( Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยว(Sonata) ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมากบทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้นเช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีนักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค  ไฮเดิน  โมทซาร์ท  และเบโธเฟน
5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
        เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมากฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียดโดยการพัฒนาหลักการต่างๆต่อจากยุคคลาสสิกหลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ยังเป็นสิ่งสำคัญแต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงการใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้นเนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรีมีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์   ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมากวงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิคบทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไปเพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เบโธเฟน  ชูเบิร์ต  โชแปง  ลิสซท์  เมนเดลซอน  เบร์ลิโอส  ชูมานน์  แวร์ดี   บราหมส์   ไชคอฟสี  ริมสกี-คอร์สคอฟ  รัคมานินอฟ  ปุกซินี  วากเนอร์  กรีก   ริชาร์ด  สเตราห์   มาห์เลอร์  และซิเบลุส  เป็นต้น
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค  (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
        เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม  ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับคลุมเครือไม่กระจ่างชัดเนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ  เสียงไม่หนักแน่น  ดังเช่น เพลงในยุคโรแมนติก การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์  ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบง่าย มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ  เดอบูสซี   ราเวล  และเดลิอุส

การทำกีตาร์โปร่ง




การทำกีต้าโปร่ง
กีต้านั้นจะทำขึ้นจากไม้ 8-9ชนิดโดยส่วนของลำตัวหลักจะถูกทำขึ้นมาก่อนไม้แต่ละชนิดจะถูกยึดเข่าด้วยกาวและมันต้องถูกยึดไว้ด้วยสายรัดเพื่อให้มันติดเข้ากันด้วยดี ทันทีที่กาวแห้งโครงของลำตัวลักจะถูกตัดด้วยเลื่อยที่คมมาก คอกีต้านั้นจะทำขึ้นด้วยไม้หนาหลายชั้นที่มีไม้มะเกลือผนึกไว้ด้านบนโครงพื้นฐานจะถูกตัดออกมาหลังจากนั้นตัวเจาะจะทำรู 6รูในจุดที่หัวกีต้าและใช้ใบเลื่อยที่เป็นแถวเจาะร่องเข้าไปที่แผ่นคอกีต้าเพื่อที่จะทำเป็นช่องเปร็ดกีต้าโดยจะฝังโลหะเข้าไปเพื่อให้กีต้าเล่นคอร์ดต่างๆได้เละนำมาขัดเกลาเพื่อทำให้เรียบ
แผ่นของไม้ที่นำมาประกอบเป็นด้านต่างๆของกีต้าจะต้องถูกดัดด้วยมือในเหล็กร้อนที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียสและต้องใช้เวลาถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งเพื่อดัดแต่ละด้านต่างๆของกีต้า ทันทีที่มันงอมันจะถูกดัดเข้าเป็นรูปทรงตามต้องการและปล่อยทิ้งไว้ให้คงสภาพ
ชิ้นไม้ชิ้นเล็กๆจะถูกยึดเข้าด้านในของกีต้าเรียกว่าตัวผยุงซึ่งจะไปเสริมความแข็งแรงเพื่อให้สามารถทนรับกับการดึงของสายกีต้าได้ และใช้ตัวดูดอากาศดูดอากาศทั้งหมดออก
คอกีต้าจะถูกแต่งด้วยมือและทันทีที่ส่วนนั้นเสร็จกีต้าทั้งสองส่วนก็จะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยกาว
โลหะผสมนิกเกิลและเงินจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนเปร็ดซึ่งจะถูกตอกเข้าไปบนแผ่นไม้มะเกลือนั้นจากนั้นกีต้าก็จะถูกขัดและเคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ 10ชั้นเพื่อให้ออกมาสวยงาม
และทันทีที่สะพานกีต้าถูกติดเข้าด้วยกาวและติดชุดลูกบิดที่ชิองที่เจาะไว้ตรงหัวกีต้าแล้วก็พร้อมที่จะขึงสายกีต้าทันที


อ้างอิง
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87&rlz=1C1SQJL_thTH842TH842&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiHz9e2-snhAhUKfysKHeV_AUoQ_AUIDigB&biw=1536&bih=706&dpr=1.25#imgdii=o4eRbDj5Hp0VjM:&imgrc=kUYv10avCMnx9M:

Satellite ดาวเทียม



ดาวเทียม (อังกฤษsatellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง ๆ

กุญแจประจำหลัก

ประเภทของกุญแจประจำหลัก กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียง 3 ชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิ...